เมนู

กถาว่าด้วยผู้นำทรัพย์ไป


ในภัณฑะที่มีผู้นำไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภัณฑะที่ผู้อื่นนำไป ชื่อว่า
หรณกะ.
สองบทว่า เถยฺยจิตฺโต อามสติ ความว่า ภิกษุเห็นชนอื่นผู้ใช้
สีสภาระเป็นต้นทูนเอาสิ่งของเดินไป แล้วคิดอยู่ในใจว่า เราจักแย่งเอาสิ่งของ
นั่นไป จึงรีบไปลูบคลำ เพียงการลูบคลำเท่านี้ เธอเป็นทุกกฏ.
บทว่า ผนฺทาเปติ ความว่า ภิกษุทำการฉุดมาและฉุดไป แต่เจ้าของ
ยังไม่ปล่อย, เพราะทำให้ไหวนั้น เธอเป็นถุลลัจจัย.
สองบทว่า ฐานา จาเวติ ความว่า ภิกษุฉุดมาให้พ้นจากมือเจ้าของ,
เพราะเหตุที่ให้พ้นนั้น เธอเป็นปาราชิก. แต่ถ้าเจ้าของภัณฑะลุกขึ้นมาแล้วโบยตี
ภิกษุนั้น บังคับให้วางภัณฑะนั้น แล้วจึงรับคืนอีก , ภิกษุเป็นปาราชิก เพราะ
การถือเอาคราวแรกนั่นเอง. เมื่อภิกษุตัดหรือแก้เครื่องอลังการ จากศีรษะ
หู คอ หรือจากมือถือเอา พอสักว่าเธอแก้ให้พ้นจากอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น
ก็เป็นปาราชิก. แต่เธอไม่ได้นำกำไลมือหรือทองปลายแขนที่มือออก เป็นแต่
รูดไปทางปลายแขน ให้เลื่อนไป ๆ มา ๆ หรือทำให้เชิดไปในอากาศ, ก็ยัง
รักษาอยู่ก่อน เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ให้เกิดเป็นปาราชิกไม่ได้
ดุจวลัยที่โคนต้นไม้และราวจีวรฉะนั้น; เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า มือที่
สวมเครื่องประดับมีวิญญาณ. จริงอยู่ เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ซึ่ง
สวมอยู่ในส่วนแห่งอวัยวะที่มีวิญญาณ ยังนำออกจากมือนั้นไม่ได้เพียงใด ก็ยัง
มีอยู่ในมือนั้นนั่นเองเพียงนั้น. ในวงแหวนที่สวมนิ้วมือ ในเครื่องประดับเท้า
และสะเอว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด แย่งชิงเอาผ้าสาฎกที่ผู้อื่น

นุ่งห่มอยู่ และผู้อื่นนั้น ก็ไม่ปล่อยให้หลุดออกโดยเร็ว เพราะมีความละอาย.
ภิกษุผู้เป็นโจรดึงทางชายข้างหนึ่ง. ผู้อื่น (คือเจ้าของผ้า) ก็ดึงทางชายอีกข้าง
หนึ่ง ยังรักษาอยู่ก่อน. เมื่อสักว่าผ้านั้นพ้นจากมือของผู้อื่น ภิกษุนั้นต้อง
ปาราชิก. แม้ถ้าเอกเทศแห่งผ้าสาฎกที่ภิกษุดึงมา ขาดไปอยู่ในมือ และเอกเทศ
นั้น ได้ราคาถึงบาท ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
บทว่า สหภณฺฑหารกํ ความว่า ภิกษุคิดว่า เราจักนำภัณฑะพร้อม
กับคนผู้ขนภัณฑะไป ดังนี้แล้ว จึงคุกคามผู้ขนภัณฑะไปว่า เองจงไปจากที่นี่.
บุคคลผู้ขนภัณฑะไปนั้นเกรงกลัว จึงได้หันหน้าไปยังทิศตามที่ภิกษุผู้เป็นโจร
ประสงค์ ก้าวเท้าข้างหนึ่งไป เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้เป็นโจร. เป็นปาราชิก
ในก้าวเท้าที่สอง.
บทว่า ปาตาเปติ ความว่า แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นโจร เห็นอาวุธในมือ
ของบุคคลผู้ขนภัณฑะไป เป็นผู้มีความหวาดระแวง ใคร่จะทำให้อาวุธตกไป
แล้วถืออาวุธนั้น จึงถอยออกไปอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งตวาด ทำให้อาวุธตกไป
พอสักว่าอาวุธหลุดจากมือของผู้อื่นแล้ว ก็ต้องปาราชิก. ส่วนคำว่า ทำทรัพย์
ให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นต้น พระองค์ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจความ
กำหนดหมาย. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด กำหนดหมายไว้ว่า เราจักทำให้สิ่งของ
ตกไป แล้วจักถือเอาสิ่งของที่เราชอบใจ ดังนี้ แล้วจึงทำให้ตกไป. เธอรูป
นั้นต้องทุกกฏ เพราะทำให้สิ่งของนั้นตกไป และเพราะการจับต้องสิ่งของนั้น,
ต้องถุลลัจจัย เพราะทำให้ไหว, ต้องปาราชิก เพราะทำสิ่งของที่มีราคาถึง
บาทให้เคลื่อนจากฐาน. แม้เมื่อภิกษุถูกบุคคลผู้ขนภัณฑะไปผลักให้ล้มลงใน
ภายหลังจึงปล่อยสิ่งของนั้น ความเป็นสมณะไม่มีเลย. ฝ่ายภิกษุรูปใด เห็น
บุคคลผู้ขนสิ่งของกำลังก้าวเดินไป จึงติดตามไป พลางพูดว่า หยุด หยุด
วางสิ่งของลง ทำให้เขาวางสิ่งของลง, แม้ภิกษุรูปนั้น ก็เป็นปาราชิก ในเมื่อ

สักว่าสิ่งของพ้นไปจากมือของผู้ขนไป เพราะคำสั่งนั้นเป็นเหตุ, ส่วนภิกษุรูป
ใด พูดว่า หยุด ๆ แต่ไม่ได้พูดว่า วางสิ่งของลง, และบุคคลผู้ขนสิ่งของไป
นอกนี้ จึงเหลียวดูภิกษุผู้เป็นโจรนั้น แล้วคิดว่า ถ้าภิกษุโจรรูปนี้ พึงมาถึง
ตัวเรา จะพึงฆ่าเราเสียก็ได้ ยังเป็นผู้มีความห่วงใยอยู่ จึงได้ซ่อนสิ่งของนั้น
ไว้ในที่รกชัฏ ด้วยคิดในใจว่า จักกลับมาถือเอา ดังนี้แล้วหลีกไป ยังไม่
เป็นปาราชิก เพราะมีการทำให้ตกเป็นปัจจัย, แต่เมื่อภิกษุมาถือเอาด้วยไถยจิต
เป็นปาราชิกในขณะยกขึ้น ก็ถ้าภิกษุผู้เป็นโจรนั้น มีความรำพึงอย่างนี้ว่า
สิ่งของนี้เมื่อเราทำให้ตกไปเท่านั้น ชื่อว่า ได้ทำให้เป็นของ ๆ เราแล้ว ใน
ระหว่างที่รำพึงนั้น จึงถือเอาสิ่งของนั้น ด้วยความสำคัญว่า เป็นของตน
ยังรักษาอยู่ ในเพราะการถือเอา, แต่เป็นภัณฑไทย ครั้นเมื่อเจ้าของพูดว่า
ท่านจงคืนให้ เมื่อไม่คืนให้ เป็นปาราชิก ในเมื่อเจ้าของทอดธุระ. แม้เมื่อ
ภิกษุถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญาว่า เจ้าของภัณฑะนั้น ทิ้งสิ่งของนี้ไป, บัดนี้
เขาไม่หวงแหนสิ่งของนี้ ดังนี้ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า แต่ถ้าเจ้าของกำลังตรวจดูด้วยเหตุ
เพียงคำที่ภิกษุโจรพูดว่า หยุด หยุด เท่านั้น เห็นภิกษุโจรนั้น แล้วทอดธุระ
เสีย ด้วยคิดว่า บัดนี้ มันไม่ใช่ของเรา หมดความห่วงใย ทอดทิ้งหนีไป,
เมื่อภิกษุถือเอาของสิ่งนั้นด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ ในเมื่อยกขึ้น, เมื่อเจ้าของ
ให้นำมาคืน พึงคืนให้, เมื่อไม่คืนให้ เป็นปาราชิก เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่าเขาทอดทิ้งสิ่งของนั้น ด้วยประโยคของภิกษุนั้น. แต่ในอรรถกถา
ทั้งหลายอื่น ไม่มีคำวิจารณ์เลย วินิจฉัยแม้ในภิกษุผู้ถือเอาด้วยความสำคัญว่า
เป็นของตนก็ดี ด้วยบังสุกุลสัญญาก็ดี โดยนัยก่อนนั่นเอง ก็เหมือนกันนี้แล.
จบกถาว่าด้วยผู้นำทรัพย์ไป

กถาว่าด้วยสิ่งของที่เขาฝากไว้


พึงทราบวินิจฉัยในของฝากต่อไป:- แม้ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่
รู้ตัวอยู่ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้รับไว้ ดังนี้ จึงเป็นทุกกฏ เพราะเป็นบุพประโยค
แห่งอทินนาทาน คงเป็นทุกกฏนั่นเอง แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า ท่าน
พูดอะไร ? คำนี้ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า, ทั้งไม่สมควรแก่ท่านด้วย เจ้าของยัง
ความสงสัยให้เกิดขึ้นว่า เราได้มอบทรัพย์ไว้ในมือของภิกษุนี้ ในที่ลับ, คน
อื่นไม่มีใครรู้ เธอจักให้แก่เรา หรือไม่หนอ ? เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุ
เจ้าของเห็นข้อที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หยาบคายเป็นต้น จึงทอดธุระว่า ภิกษุรูปนี้
จักไม่คืนให้แก่เรา ในภิกษุและเจ้าของภัณฑะนั้น ถ้าภิกษุนี้ ยังมีความ
อุตสาหะในอันให้อยู่ว่า เราจักทำให้เขาลำบาก แล้วจักให้ ยังรักษาอยู่ก่อน
แม้ถ้าเธอไม่มีความอุตสาหะในอันให้, แต่เจ้าของภัณฑะยังมีความอุตสาหะใน
อันรับ ยังรักษาอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าภิกษุไม่มีอุตสาหะในอันให้นั้น เจ้าของ
ภัณฑะทอดธุระว่า ภิกษุนี้ จักไม่ให้แก่เรา เป็นปาราชิกแก่ภิกษุ เพราะทอด
ธุระของทั้งสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้ แม้ถ้าภิกษุพูดแต่ปากว่า จักให้ แต่
จิตใจ ไม่อยากให้ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นปาราชิก ในเพราะเจ้าของทอดธุระ
แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ย้ายภัณฑะ ชื่อว่าของฝากนั้น ที่ชนเหล่าอื่นมอบไว้
ในมือของตน เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองไปจากฐาน โดยความเป็นประเทศ
นี้ไม่ได้คุ้มครอง นำไปเพื่อต้องการเก็บไว้ในที่คุ้มครอง อวหารย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้ให้เคลื่อนจากฐานแม้ด้วยไถยจิต. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นของที่
เขาฝากไว้ในมือของตน, แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุผู้ใช้สอยเสียด้วย
ไถยจิต ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ถึงในการถือเอาเป็นของยืม ก็เหมือนกันแล.